ความเคลื่อนไหวของนิสิตฝึกงานศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี




วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขอเชิญร่วมฝึกอบรมออนไลน์ SUT e-Training

ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ขอเชิญร่วมฝึกอบรมออนไลน์ SUT e-Training สามารถเรียนรู้หลักสูตรต่างๆ ผ่านระบบเครือข่ายได้ทุกหนแห่งในหลากหลายหลักสูตร ท่านจะได้รับความรู้เชิงทักษะ พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใหม่กับเพื่อนและผู้สอน เพื่อสร้างสังคมความรู้ออนไลน์ ด่วน หลักสูตรใหม่ เริ่มเปิดอบรม 16 กันยายน 2553 นี้




สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://ceit.sut.ac.th/etraining/

หรือสอบถามได้ที่ คุณพิมพรรณ โทร 044-224979

















วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

รายงานการฝึกสหกิจศึกษาศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มทส. ครั้งที่ 2

ข่าวสารจากศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ครั้งที่ 2

สวัสดีผู้เยี่ยมชมทุกท่านและอาจารย์ที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกของพวกเรา ก่อนอื่นเราต้องขออนุญาต รายงานความเคลื่อนไหว รวบเดียวเลย 2 อาทิตย์ ตั้งแต่วันที่ 7-19 มิถุนายน 2553
วันที่ 7 มิถุนายน 2553
วันนี้เป็นวันจันทร์ ซึ่งเป็นวันแรกของสัปดาห์ที่ 2 ของการฝึกงาน พวกเราได้ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายในสัปดาห์แรกต่อ คือ ทำธีม วอล์เปเปอร์ สกรีนเซิฟเวอร์ ลงตู้ Kios ซึ่งจะเปิดตัวในวันที่ 8 มิถุนายน 2553
วันที่ 8 มิถุนายน 2553
อย่างที่บอกในข้างต้นในวันนี้เป็นวันเปิดตัวตู้ kios ซึ่งพวกเรามาที่จัดงานแต่เช้า 7.00น. เพื่อมาเตรียมความพร้อมในวันเปิดตัวตู้ Kios พวกเราตื่นเต้นมากเพราะพวกเราจะได้โชว์ผลงานที่เราทำเป็นครั้งแรก ซึ่งมีโทรทัศน์ kctv มาทำข่าวท้องถิ่นโคราช และ Sut News มาทำข่าวในวันนี้ด้วย ซึ่งบรรยากาศภายในงานเราจะนำมาให้ดูในครั้งต่อไป
วันที่ 9 มิถุนายน 2553
ในวันนี้พวกเราต้อง Present ในสิ่งที่พี่เขาให้พวกเราไปศึกษาในสัปดาห์แรก คือ
1. M-Learning คืออะไร
2. U-Learning คืออะไร
3. M-Learning for Theory ทฤษฎีที่ใช้ในการออกแบบ M-Learning
พวกเราได้ Present ต่อพี่เลี้ยงพวกเรา ส่วนเนื้อหาที่ได้ไปศึกษามาทั้ง 3 หัวข้อนี้ จะเกี่ยวข้องกับภารกิจที่เราจะได้ทำต่อไปนี้แน่นอน หลังจากนั้นพวกเราได้รับมอบหมายงานชิ้นหนึ่งมาทำ เป็นโปรเจคของพวกเราเอง คือ Learning Object for Mobile ซึ่งแต่ละคนได้งานแยกย่อยกัน ดังนี้
1. พัฒนาเกมส์เพื่อการศึกษา สามารถนำไปใช้บนมือถือได้
รับผิดชอบโดย นายศราวุฒิ จันทะแสง
2. M-moodle หรือ Moodle for mobile ซึ่งเป็นการพัฒนา Moodle ให้สามารถนำมาใช้บนมือถือได้ รับผิดชอบโดย นางสาวสุนิสา สารเฉวต
3. Mobile Learning เป็นการนำสื่อที่มีอยู่แล้วนำมาประยุกต์ให้สามารถใช้บนมือถือได้ รับผิดชอบโดย นางสาวภัสรา ชนะชัย
ซึ่งจะเห็นได้ว่างานที่พวกเราได้รับมอบหมายจะเกี่ยวข้องกับ M-learning ซึ่งในหน้าที่ของแต่ละคนจะเห็นเด่นชัดว่าเราจะมีหน้าที่มุ่งเน้นไปสิ่งใด ดังนี้
1. นายศราวุฒิ จันทะแสง จะมุ่งเน้นในเรื่อง การวิจัยและพัฒนาระบบ
2. นางสาวสุนิสา สารเฉวต จะมุ่งเน้นในเรื่อง การวิจัยและพัฒนาสื่อการศึกษา
3. นางสาวภัสรา ชนะชัย จะมุ่งเน้นในเรื่อง การวิจัยและการพัฒนาในเชิงประยุกต์สื่อการศึกษา
แล้วนอกจากนี้พวกเราได้รับมอบหมายงานที่ต้องทำเป็นประจำทุกๆ วัน คือ หาสื่อที่เกี่ยวข้องกับการศึกษานำมาขึ้นขึ้นเว็บเซิฟเวอร์เพื่อลงตู้ Kios สัปดาห์ละ 30 ชิ้น แล้วจากที่พี่เขามอบหมายให้พวกเราแต่ละ พี่เขาจะขอนัดดูความคืบหน้าในวันที่ 30 มิถุนายน 2553
วันที่ 10-11 มิถุนายน 2553
ใน 2 วันนี้ก็ไม่มีอารายมากมาย พวกเราก็ทำหน้าตามที่พวกเราได้รับมอบหมายในแต่ละคน
วันที่ 14 มิถุนายน 2553
ในวันที่ 14 เป็นวันแรกของสัปดาห์ที่ 3 ของการฝึกงานของพวกเรา วันนี้ก็เหมือนทุกๆ วันที่ผ่านมา พวกเราต่างคนต่างทำงานที่ได้รับมอบหมาย
วันที่ 15 มิถุนายน 2553
ในวันนี้พี่เขาได้มอบหมายงานให้ นางสาวสุนิสา สารเฉวต เพิ่มอีก 1 ชิ้นคือ ให้ทำแบรนเนอร์หัวเว็บ ให้กับพี่เขาซึ่งพี่เขายังไม่ได้กำหนดวันส่ง
วันที่ 16 มิถุนายน 2553
ในวันนี้พี่เขาได้มอบหมายงานให้กับนางสาวภัสรา ชนะชัย และ นางสาวสุนิสา สารเฉวต ให้ไปสืบค้นหา TV
และ Radio Online โดยแยกประเภท บอก URL และหาโลโก้ของแต่ละที่มาด้วย ซึ่งได้แบ่งกันรับรับผิดชอบ ดังนี้
1. นางสาวสุนิสา สารเฉวต หา TV Online
2. นางสาวภัสรา ชนะชัย หา Radio Online
ซึ่งพี่เขานัดส่งงานวันที่ 18 มิถุนายน 2553
วันที่ 17 มิถุนายน 2553
พวกเราทำหน้าตามที่ได้รับมอบหมาย อย่างเช่นเคย
วันที่ 18 มิถุนายน 2553
นางสาวสุนิสา สารเฉวต และ นางสาวภัสรา ชนะชัย ได้ส่งงานที่ได้รับมอบหมายแก่พี่เขา และจากนั้นพวกเราก็ทำงานที่ได้รับมอบหมายกันต่อ
ในการทำงาน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ละคนก็พบปัญหาในการทำงาน และได้ไปขอคำปรึกษาและคำแนะนำจากพี่ๆ ในที่ฝึกงาน พี่ๆ ก็ให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี และพี่ๆ ที่เป็นพี่เลี้ยงเราก็แนะนำสิ่งต่างๆ ให้เรา และได้ให้ข้อคิดเรา และความรู้สึกที่พี่ๆ ที่ฝึกงานมีต่อพวกเราว่า “พี่ๆที่ศูนย์นวัตกรรมฯ แห่งนี้ ไม่ได้คิดว่าพวกเราเป็นแค่นักศึกษาฝึกงาน แต่คิดว่าพวกเราเป็นคนที่ทำงานที่นี้ เป็นพนักงานที่แห่งนี้ และคนที่ทำงานจริงๆ เขาจะไม่ทำงานเพียงแค่ด้านเดียว ฉะนั้นสิ่งที่พี่ได้มอบหมายให้ พวกน้องๆอาจจะดูว่ายาก และเยอะมากมาย แต่เป็นการฝึกให้พวกน้องๆ รู้จักการทำงานที่จริง และการทำงานจะไม่สามารถทำสำเร็จเพียงคนเดียวได้ ต้องมีหลายๆ ฝ่ายร่วมด้วยจึงจะสำเร็จ แล้วพี่เขาก็ถามว่ามีใครอยากจะเปลี่ยนไปทำฝ่ายอื่นไหม พวกเราไม่มีใครไป เพราะพวกเราเริ่มลงตัวกับฝ่ายวิจัยและพัฒนาสื่อการศึกษาแล้ว และพี่เขาก็บอกเหตุผลว่าที่ต้องให้พวกเรามาอยู่ฝ่ายนี้เพราะพวกเรายังขาดในด้านนี้อยู่ จึงให้พวกเรามาอยู่ตรงจุดนี้ และนอกจากนี้มีเขายังให้ข้อคิดที่ว่า นักเทคโนการศึกษาที่ดี ไม่จำเป็นต้องเก่ง แต่ต้องเป็นทุกอย่าง และไม่ใช่แค่ว่าเป็นแล้ว ยังต้องสามารถบอกต่อให้คนอื่นปฏิบัติได้ด้วย”
พวกเราก็ขอรายงานความเคลื่อนไหวในครั้งที่ 2 เพียงเท่านี้ ส่วนในครั้งหน้า พวกเราจะนำความเคลื่อนไหวของสัปดาห์ต่อไปมารายงาน และจะนำข้อมูลเกี่ยวกับตู้ Kios คืออะไร เป็นอย่างไร มารายงานให้อ่าน และจะนำความรู้เกี่ยวกับ M-Learning, U-Learning และทฤษฎีที่พวกเราใช้ในการทำ M-Learning แล้วเราจะนำ M-Learning มาพัฒนาต่อแบบไหน ในรูปแบบใด เป็นยังไง พวกเราจะนำความรู้เหล่านี้มาให้ติดตามกันในครั้งต่อไป...

สวัสดี...

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553


ข่าวสารจากศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ครั้งที่ 1



ก่อนอื่นพวกเราของสวัสดีคณะอาจารย์และเพื่อนๆ ที่เข้ามาอ่านบทความในบล็อกและขออภัยกับการบอกเล่าข่าวสารช้าไปอาจจะด้วยเหตุผลประการใดๆ ก็ตาม พวกเราเป็นนิสิตฝึกงาน ในรายวิชาสหกิจศึกษา ของสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้มาฝึกงานในศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งมีรายชื่อดังนี้
1. นางสาวภัสรา ชนะชัย ID: 50010514030
2. นายศราวุฒิ จันทะแสง ID: 50010514041
3. นางสาวสุนิสา สารเฉวต ID: 50010514044
ทั้งหมดนี้เป็นนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และในการฝึกงานของพวกเรามีรายละเอียดตลอดทั้งสัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 1-4 มิถุนายน 2553 ดังนี้

วันที่ 1 มิถุนายน 2553
พวกเรายื่นหนังสือส่งตัว ที่ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ต่อมาเราได้เข้าฟังคำแนะนำจากคุณถุงเงิน ดาวเที่ยง หัวหน้าสำนักงาน ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หลังจาก คุณถุงเงิน ดาวเที่ยง หัวหน้าสำนักงาน ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้ให้เราเข้าฝึกงานในฝ่ายวิจัยและพัฒนาสื่อการศึกษา และได้เข้าฟังคำแนะนำจากพี่ๆในฝ่ายวิจัยและพัฒนาสื่อการศึกษา ทั้ง 3 คน ที่จะมาเป็น พี้เลี้ยงเรา ได้แก่
1. คุณศยามน อินสะอาด (พี่เอ) ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาสื่อการศึกษา
2. คุณพันทิพา อมรฤทธิ์ (พี่น้อง) บุคลากรฝ่ายวิจัยและพัฒนาสื่อการศึกษา
3. คุณอมรเทพ เทพวิชิต (พี่เอม่อน) บุคลากรฝ่ายวิจัยและพัฒนาสื่อการศึกษา
จากนั้นพี่ๆทั้ง 3 คนได้มอบหมายโปรเจคใหญ่ ให้พวกเราทั้ง 3 คน คือ โปรเจค M-Learning แล้วพี่ๆ ทั้ง 3 คนตั้งคำถามให้พวกเราไปหาคำตอบ มีทั้งหมด 4 ข้อ คือ
1. M-learning คืออะไร?
2. U-Learning คืออะไร?
3. M-learning for Theory ทฤษฎีในการออกแบบ M-Learning?
4. ทำไมต้องมี M-Learning?
ทั้ง 4 ข้อนี้ พวกพี่ๆ ทั้ง 3 คน บอกพวกเราไปหาคำตอบทั้ง 4 ข้อนี้มาให้ได้ ตลอดระยะเวลาที่ฝึกงาน ถ้าวันสุดท้ายของการฝึกงานตอบพวกพี่ๆ ทั้ง 3 คนไม่ได้ พวกเราจะไม่ผ่านการฝึกงาน
หลังจากนั้นพวกพี่ๆ ทั้ง 3 คน ได้มอบหมายและแบ่งงานชิ้นที่ 1 ให้พวกเราแต่ละคนไปศึกษา ดังนี้
1. M-learning คืออะไร? โดยให้นางสาวภัสรา ชนะชัย เป็นผู้รับผิดชอบในหัวข้อนี้
2. U-learning คืออะไร? โดยให้นางสาวสุนิสา สารเฉวต เป็นผู้รับผิดชอบในหัวข้อนี้
3. M-Learning for U-Learning ทฤษฎีในการออกแบบ M-Learning? โดยให้นายศราวุฒิ จันทะแสง เป็นผู้รับผิดชอบหัวข้อนี้ และกำหนดวันส่งงานชิ้นที่ 1 ในวันที่ 4 มิถุนายน 2553 พร้อม Present ต่อพวกพี่ๆ ทั้ง 3 คน หลังจากนั้น ก็พาพวกเราไปที่โต๊ะทำงานที่เตรียมไว้ให้ และพี่ๆ ทั้ง 3 คนก็ให้พวกเราไปดูกล้องวงจรปิด ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ของบริษัท Tian Hong วิศวกรรม จำกัด จากนั้นพี่ๆ ในฝ่ายวิจัยก็พาเราไปรับประทานอาหารเที่ยง เวลาประมาณบ่ายโมงตรงพวกเราก็ทำงานที่ได้รับมอบหมาย พอได้เวลาเลิกงานก็แยกย้ายกลับที่บ้านพักกัน

วันที่ 2 มิถุนายน 2553
ในวันที่ 2 มิถุนายน 2553 พวกเราได้เข้าร่วมการประชุมประจำเดือนของศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และฟังคำแนะนำจากผู้บริหารศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ทั้ง 2 ท่าน ดังนี้
1. รองศาสตราจารย์ ดร. รังสรรค์ วงศ์สรรค์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี


2. อ.ดร.ราเชนทร์ โกศัลวิตร ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
จากนั้นพวกเราก็แนะนำตัวต่อที่ประชุมและรับฟังการประชุมและระบบการทำงานภายในศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี เวลาประมาณประมาณบ่ายโมงพวกเราก็นั่งทำงานที่ได้รับมอบหมาย จนกระทั่งถึงเวลาเลิกงาน

วันที่ 3 มิถุนายน 2553
ในวันฝึกงานวันที่ 3 ก็ไม่มีอะไรมาก เพราะดูเหมือนพวกพี่ๆ จะแบ่งงานให้พวกเราลงตัว และอีกอย่างพวกเราก็พอจะรู้ระบบการทำงานของศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พี่ๆ เขาก็ให้พวกเราทำตารางการทำงานที่มอบหมายให้พี่เขา แล้วพวกเราก็ทำงานที่ได้รับมอบหมายกันต่อจนถึงเวลาเลิกงาน พวกเรายังกลับบ้านพักกันไม่ได้ เพราะฝนตกหนักพวกเราเลยอยู่ที่ฝึกงานกันต่อกับพวกพี่ๆ และได้ให้พี่มาร์ค นายธนินทร์ ระเบียบโพธิ์ บุคลากรฝ่ายวิจัยและพัฒนาสื่อการศึกษา งานวิจัยและประเมินสื่อการศึกษา สอนโปรแกรมแฟลช cs3 ต่อยอดจากความรู้ที่พวกเรามีอยู่แล้วไปอีก

วันที่ 4 มิถุนายน 2553
ในวันนี้พี่ๆ ทั้ง 3 คนได้มอบหมายงานชิ้นที่ 2 ให้เราทำ โดยพี่ๆ ทั้ง 3 คนแบ่งงานให้พวกเรา ดังนี้
1. ทำ screensaver จากแฟลช เนื่องในวันสถาปนาครบรอบ 20 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ลงตู้ Kios โดยให้โหลดลงใช้ในมือถือ มอบหมายให้นายศราวุฒิเป็นผู้รับผิดชอบ
2. ทำ Theme ลงมือถือ เนื่องในวันสถาปนาครบรอบ 20 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยมอบหมายงานนี้ให้กับ นางสาวภัสรา ชนะชัย และนางสาวสุนิสา สารเฉวต เป็นผู้รับผิดชอบและงานทั้งหมดต้องแล้วเสร็จในวันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน 2553 เพราะในวันอังคารที่ 8 มิถุนายน 2553 เป็นงานเปิดตัวตู้ Kios และงานที่พวกเราได้รับมอบหมายต้องนำมาเสนอต่อ ศ.ดร.ประสาม สืบเค้า อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุนารี จนได้เวลาเลิกงานแล้วค่อยกลับบ้านพักกัน
ตลอดเวลาทั้งสัปดาห์แรกที่ได้ฝึกงานของพวกเราก็ได้รับความรู้มากมายจากการทำงาน ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น งานที่พวกเราได้รับมอบหมายทำให้พวกเราได้มีการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ มากขึ้น และทำให้พวกเรารู้ว่าสิ่งที่พวกเราได้เรียนรู้มาจากในห้องเรียนมันเป็นความรู้อันน้อยนิด แต่ความรู้อันน้อยนิดจากในห้องเรียนนี้มันรากฐานและพื้นฐานที่ดีของพวกเราทำให้พวกเราสามารถนำความรู้ใหม่จากสถานที่ฝึกงานมาต่อยอดพื้นฐานของพวกเราและทักษะของพวกเราให้มีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้น

สวัสดี....